ความรู้เรื่องแอร์

โปรแกรมวิเคราะห์น้ำมันคอมเพรสเซอร์ เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการตรวจหาแนวโน้มสาเหตุเบื้องต้นของการสึกหรอในคอมเพรสเซอร์ก่อนที่จะก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่ รวมทั้งช่วยวางแผนการดูแลในอนาคตเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงานและลดอัตราการเสื่อมสภาพได้ดียิ่งขึ้น

การเปลี่ยนน้ำมันคอมเพรสเซอร์ยังเป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่ช่วยลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อยืดอายุการใช้งานของคอมเพรสเซอร์ให้ยาวนานขึ้น คุณภาพของน้ำมันคอมเพรสเซอร์ประสิทธิภาพสูงทำให้อายุการใช้งานคอมเพรสเซอร์ยาวนานขึ้น โดยทั่วไปแล้วการวิเคราะห์น้ำมันคอมเพรสเซอร์จะช่วยค้นหาความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นและลดต้นทุนการดูแลรักษาในส่วนของคอมเพรสเซอร์มีผลกระทบ 3 ส่วนหลัก คือ

1. Wear (การสึกหรอ) ชิ้นส่วนของแข็งที่ปะปนอยู่ในน้ำมันจะสร้างความสึกหรอและลดอายุการใช้งานของคอมเพรสเซอร์

2. Chemistry (คุณสมบัติทางเคมี) ความหนืดที่ผิดปกติต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความชื้นทำให้เกินค่าความเป็นกรดที่สูงเกินไป

3. Contamination (การปนเปื้อน) ความชื้นที่ปนเปื้อนอยู่ในวงจรของสารทำความเย็น

ทำไมต้องวิเคราะห์และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันคอมเพรสเซอร์อย่างสม่ำเสมอ

น้ำมันคอมทเพรสเซอร์เป็นหัวใจสำคัญในการยืดอายุการใช้งานคอมเพรสเซอร์ ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์หลักของชิลเลอร์ การใช้น้ำมันที่ไม่มีคุณภาพเพียงพอจะก่อให้เกิดปัญหาต่อการทำงานของระบบและอุปกรณ์ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมอย่างมหาศาล เช่น ปัญหาจากน้ำมันคอมเพรสเซอร์เสื่อมสภาพเพราะความร้อนสูงเกินไป การแวคคั่มที่ไม่มีประสิทธิภาพ การรั่วของน้ำเข้าสู่ระบบน้ำมันและสารทำความเย็น หรือการเติมสารเคมีแปลกปลอมเข้าไปในระบบ

ทำไมต้องใช้โปรแกรมวิเคราะห์และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันคอมเพรสเซอร์ของ Trane Care

ห้องปฏิบัติการทางเคมีของเทรนได้รับการพัฒนามายาวนานกว่า 45 ปี เรามีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการวิเคราะห์ชนิน้ำมันไปยังลิเธียมโบรไมด์ บนพื้นฐานของผู้นำระดับโลกในการผลิตชิลเลอร์ และเรายังมีประสบการณ์จริงจากห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำมันทั้งหมดของคอมเพรสเซอร์ทุกประเภท ได้แก่ Scroll compressor, Reciprocating compressor, centrifugal compressor และ Screw compressor และยังได้การรับรองตามมาตรฐาน ISO 9002

นอกเหนือจากการวิเคราะห์น้ำมันคอมเพรสเซอร์อย่างสม่ำเสมอเพื่อดูแนวโน้มและเก็บข้อมูลการสึกหรอของเครื่องแล้ว Trane care ยังแนะนำให้เปลี่ยนน้ำมันคอมเพรสเซอร์ตามระยะเวลาการใช้งาน และตามคำแนะนำของผู้ชำนาญการของบริษัท โดย Trane care ไม่แนะใำให้ใช้น้ำมันชนิดอื่น หรือการเติมสารใดๆ ที่อ้างว่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการหล่อลื่นของน้ำมัน หรือ การถ่ายเทความร้อน เพราะผลกระทบจากการใช้สารปนเปื้อนเหล่านี้อาจส่งผลให้น้ำมันดังกล่าวเกิดการก่อตัวของกรด และยังมีผลกระทบในระยะยาวต่อส่วนประกอบที่ผลิตจากยางและฉนวนของมอเตอร์ นอกจากนั้นสารดังกล่าวยังไม่ได้รับการรับรองจากห้องปฏิบัติการทางเคมีของเทรน ซึ่งเสี่ยงต่อความเสียหายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น

การวิเคราะห์น้ำมันคอมเพรสเซอร์ของ Trane care เป็นกระบวนการที่วัดทั้งลักษณะของน้ำมันและการสึกหรอของคอมเพรสเซอร์ มีรายงารสรุปผลที่แสดงถึงสาเหตุ แนวทางการดำเนินการ และคำแนะนำต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญ ในรูปแบบของเวคเตอร์สามเหลี่ยมเพื่อง่ายต่อการเข้าใจ

Wear (การสึกหรอ)

การวิเคราะห์การหักเหของแสงเพื่อหาปริมาณการสึกหรอ, ปริมาณของของแข็ง (PPM) และลักษณะของของแจ็ง

Chemistry (ปฏิกิริยาเคมี)

การวเคราะห์ปริมาณความเป็นกรดและความหนืด

Contamination (การปนเปื้อน)

การวเคราะห์ปริมาณของความชื้นที่ปรากฏ

การวิเคราะห์น้ำมันนี้สามารถตรวจสอบน้ำมันสำหรับระบบปรับอากาศและคอมเพรสเซอร์ได้ทุกชนิด โดยสามารถรายงานผลภายในเวลาที่สั้น รวมถึงได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญและแนวโน้มจากการเปลี่ยบเทียบการตรวจสอบครั้งก่อนหน้า

ปัจจุบันผู้ให้บริการด้านระบบปรับอากาศจำนวนมากได้นำวิธีการให้บริการแบบเชิงรุกสำหรับอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต่อผลิตภัณฑ์ โดยการเก็บตัวอย่างน้ำมันที่จะนำมาวิเคราะห์ จะต้องทำอย่างสม่ำเสมอและเป็นไปตามกำหนดระยะเวลาที่แนะนำบนพื้นฐานของขิ้นส่วนนั้นที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ได้ข้อมูลแนวโน้มสำหรับคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

การตรวจสอบและการวิเคราะห์ทางเคมีเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบำรุงรักษาระบบเชิงป้องกัน และเป็นองค์ประกอบสำคัญของวิศวกรรมการบริการ เพราะการบำรุงรักษาระบบปรับอากาศด้วย "โปรแกรมวิเคราะห์น้ำมันคอมเพรสเซอร์" ช่วยให้คุณสามารถ

1. ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา เพราะการสุ่มเก็บตัวอย่างของน้ำมันใช้เวลาน้อยกว่าและมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการซ่อมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์

2. ตรวจสอบปัญหาได้โดยไม่ต้องรื้อคอมเพรสเซอร์และอุปกรณ์ รายงานการตรวจสอบและการวิเคราะห์ของเทรนสามารถตรวจพบปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ล่วงหน้า ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์

3. ลดปัญหาและค่าใช้จ่ายในการกำจัดน้ำมันที่ใช้แล้ว

4. สามารถกำหนดตารางการดูแลรักษาคอมเพรสเซอร์เพื่อลดการหยุดการทำงานของเครื่อง (Downtime) ได้แม่นยำมากขึ้ย

5. ช่วยรักษาประสิทธิภาพการทำงานของคอมเพรสเซอร์

6. ช่วยยืดอายุการใช้งานคอมเพรสเซอร์

82-SA-CT-รโมท

โหมดต่างๆ บนรีโมทแอร์ มีอะไรบ้าง

1. Auto Mode โหมดอัตโนมัติ เมื่อเข้าสู่โหมดนี้ แอร์จะปรับอุณหภูมิและความเร็วของพัดลมโดยอัตโนมัติตามเซ็นเซอร์ของแอร์

2. Dry mode โหมดนี้ทำงานคล้ายโหมด Cool แต่แอร์จะเพิ่มหน้าที่ขึ้นมาอีกอย่างคือการลดความชื้นในอากาศ เหมาะสำหรับห้องที่ต้องการควมคุมความชื้น

3. Cool Mode โหมดปรับความเย็นไปตามอุณหภูมิที่เราปรับบนรีโมทแอร์ ควรใช้โหมดนี้เป็นหลักในการใช้งาน

4. Fan Mode แอร์จะทำงานเฉพาะส่วนของพัดลม ลมที่ออกจากแอร์จะเป็นลมอูณหภูมิห้องปกติ เหมาะสำหรับฤดูหนาว ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศา

รปภาพ1

https://bit.ly/32BEegh

ไขข้อสงสัย ติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบใดดีที่สุด?

บ้านพักอาศัยและอาคารขนาดต่างๆ ในประเทศไทยต่างต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องระบบทำความเย็น เนื่องจากสภาพอากาศของประเทศไทยนั้นถ้าหากขาดการติดตั้งเครื่องปรับอากาศไปละก็ เรียกได้ว่าร้อนจนทนไม่ได้เลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เราได้รวบรวมข้อมูลการติดตั้งเครื่องปรับอากาศประเภทต่างๆ มาให้เพื่อนๆ ได้ทำความเข้าใจกัน

1. ติดตั้งเครื่องปรับอากาศติดผนัง

การติดตั้งเครื่องปรับอากาศประเภทแรกคือการติดตั้งตัวเครื่องแบบติดผนัง ส่วนใหญ่จะถูกใช้ในภาคครัวเรือน เนื่องจากตัวเครื่องปรับอากาศมีขนาดที่เหมาะสม อีกทั้งปัจจุบันแต่ละยี่ห้อยังแข่งขันกันในเรื่องของดีไซน์อย่างไม่ยอมแพ้กัน ทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการใช้งานที่มากขึ้น ขนาดของเครื่องปรับอากาศประเภทนี้จะมีขนาดเล็กไปถึงขนาดกลาง สามารถปรับลมแอร์ให้ลงมาบริเวณที่ต้องการได้ง่ายๆ ส่วนใหญ่จะมีการทำงานของระบบแบบไร้เสียงรบกวน ติดตั้งได้ง่าย ช่างส่วนใหญ่มีความชำนาญในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศชนิดนี้ อย่างไรก็ตามความเย็นจากตัวแอร์ที่ส่งออกมาเหมาะกับห้องขนาดไม่ใหญ่มาก เช่น ห้องนอนส่วนตัว ห้องตามหอพัก หรือห้องที่มีผนังกั้นเป็นสัดส่วนชัดเจน เป็นต้น

2. ติดตั้งเครื่องปรับอากาศชนิดตั้งแขวน

สำหรับประเภทที่สองนี้จะเป็นเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสำหรับการติดตั้งในอาคารสำนักงานที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมา รวมถึงการติดตั้งในพื้นที่ขนาดใหญ่ด้วย เนื่องจากการติดตั้งเครื่องปรับอากาศชนิดตั้งแขวนนั้นเป็นการติดตั้งแอร์ที่ขนาดใหญ่ขึ้นมา แน่นอนว่าความเย็นและการกระจายตัวจึงเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่จะมีการเจาะแขวนใต้ฝ้าเพดาน มีขนาดแอร์ตั้งแต่ 15,000 BTU เป็นต้นไป ตัวห้องสามารถเย็นได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถส่งลมได้ไกล หากแต่จะมีเรื่องเสียงรบกวนขณะเครื่องปรับอากาศทำงานมากกว่าเครื่องปรับอากาศชนิดอื่นเท่านั้น

3. ติดตั้งเครื่องปรับอากาศชนิดฝังใต้ฝ้า

มาถึงการติดตั้งเครื่องปรับอากาศชนิดฝังใต้ฝา ซึ่งเป็นที่นิยมในการติดตั้งในอาคารขนาดต่างๆ กันบ้าง ข้อดีที่เห็นได้ชัดคือการติดตั้งเครื่องปรับอากาศประเภทนี้จะสามารถกลมกลืนไปกับดีไซน์ของตัวอาคารได้ง่ายๆ เพราะตัวเครื่องถูกฝังอยู่ที่ใต้ฝ้า ไม่เปลืองพื้นที่ภายในห้อง หากแต่ต้องมีการวางแผนระบบไฟฟ้าและการส่งความเย็นที่ละเอียดรอบคอบ ในเรื่องของความเย็นนั้นมาเร็วไม่แพ้แบบอื่นๆ มีขนาด BTU สูง ตัวอย่างชนิดของเครื่องปรับอากาศชนิดฝังใต้ฝ้าที่นิยมมีดังนี้

- แบบกระจายทิศทาง : ชนิดนี้เพื่อนๆ สามารถเลือกจำนวนทิศทางที่ต้องการให้แอร์กระจายได้มากสุดถึง 8 ทิศทางด้วยกัน ขึ้นอยู่กับรุ่นเครื่องปรับอากาศที่เลือกติดตั้ง

- แบบเปลือย : จะเป็นการติดตั้งเครื่องปรับอากาศใต้ฝ้าโดยที่มีแต่ตัวเครื่องเท่านั้น เปลือยๆ ไม่มีสิ่งใดหุ้ม เหมาะกับห้องประชุมขนาดใหญ่หรือร้านอาหาร อย่างไรก็ตามปัจจุบันบางสถานที่ก็นิยมนำท่อดักเข้ามาติดตั้งร่วมกับการติดตั้งชนิดนี้

การติดตั้งเครื่องปรับอากาศแต่ละชนิดมีข้อดีแตกต่างกันไป หากนำมาเปรียบเทียบแล้วส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งานเป็นหลัก เพราะฉะนั้นก่อนการเลือกซื้อใดๆ เพื่อนๆ ควรที่จะทำความเข้าใจชนิดของเครื่องปรับอากาศชนิดนั้นๆ รวมถึงวางสเปคเครื่องปรับอากาศที่ต้องการเป็นอย่างดีเสียก่อน หากใครที่ต้องการคำแนะนำ ทางบริษัท สยามแอร์ คอนดิชั่น จำกัด ผู้จัดจำหน่ายเครื่องปรับอากาศค้าปลีกและค้าส่งก็มีผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะคอยให้คำแนะนำ สามารถติดต่อได้ที่ https://www.siam-air.com/