ความรู้เรื่องแอร์

วิธีการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน และการออกหนังสือรับรองว่าเป็ฯผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ สาขาช่างเครื่องปรับอากาศภายในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็กระดับ 1

1. การทดสอบความรู้ ความเข้าใจ

เป็นการทดสอบความรู้และความเข้าใจที่จำเป็นจะต้องนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ลักษระข้อสอบเป็นแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 60 ข้อ คะแนนเต็ม 60 คะแนน ใช้เวลาในการทดสอบ 1 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละยี่สิบของคะแนนทั้งหมด โดยผุ้เข้ารับการทดสอบต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของคะแนนภาคความรู้ จึงจะมีสิทธิเข้ารับการทดสอบภาคความสามารถ

2. การทดสอบภาคความสามารถ

 เป็นการทดสอบความสามารถซึ่งเกิดจากการสะสมประสบการณ์จนเกิดความชำนาญเพียงพอที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพตามข้อกำหนด ถูกขั้นตอนและเสร็จตามเวลากำหนด ลักษระแบบทดสอบ เป็ฯการทดสอบความสามารถโดยให้ผู้เข้ารับการทดสอบปฏิบัติงานตามรูปแบบกฏเกณฑ์ในวิธีการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกศ์และคอมพิวเตอร์ สาขาช่างเครื่องปรับอากาศในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล้กระดับ 1 คะแนนเต็ม 100 คะแนน ใช้เวลาในการทดสอบ 4 ชั่วโมง 20 นาที คิดเป็นร้อยละแปดสิบของคะแนนทั้งหมด รายละเอียดวิธีการทดสอบให้เป็นไปตามคณะกรรมการการประกาศกำหนด

3. การออกหนังสือรับรอง

การออกหนังสือรับรองว่าเป็ฯผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ สาขาช่างเครื่องปรับอากาศในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก ระดับ 1 จะออกให้แก่ผู้ผ่านการทดสอบ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

ผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องทดสอบทั้งภาคความรู้ ความเข้าใจและภาคความสามารถ โดยจะต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบของคะแนนทั้งหมด จึงถือว่าผ่านการทดสอบมาตาฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล้กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ สาขาช่างเครื่องปรับอากาศในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล้ก ระดับ 1

รปภาพ3

https://bit.ly/3sOQiW6

 

อะไหล่เครื่องปรับอากาศมีอะไรบ้าง? ทำไมถึงต้องทำความรู้จัก?

เครื่องปรับอากาศเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับบ้านและอาคารในปัจจุบัน การใช้งานเครื่องปรับอากาศเพิ่มมากขึ้นทุกวัน แม้เครื่องปรับอากาศจะมีความคงทนมากเพียงไร แต่ถ้าหากใช้เป็นระยะเวลานานก็อาจเกิดปัญหาจนทำให้ไม่สามารถใช้งานได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นในครั้งนี้เราจะพาเพื่อนๆ มาทำความรู้จักกับอะไหล่เครื่องปรับอากาศกันว่ามีอะไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นหากเกิดปัญหาขึ้นจริงๆ ในการใช้งาน

1. อะไหล่เครื่องปรับอากาศ : คอมเพรสเซอร์

อะไหล่เครื่องปรับอากาศชนิดแรกก็คือคอมเพรสเซอร์ มักถูกติดตั้งไว้ภายนอกของบ้านและอาคาร ทำหน้าที่ร่วมกับสารทำความเย็น ทำให้เครื่องปรับอากาศนั้นๆ มีความเย็นเกิดขึ้น อีกทั้งยังเป็นส่วนที่ต้องได้รับการบำรุงอย่างสม่ำเสมอ ภายในคอมเพรสเซอร์จะมีลูกปืนเป็นตัวฉีดและอัดสารทำความเย็น ถือว่าเป็นอีกหนึ่งส่วนที่สำคัญในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ หากขาดส่วนนี้ไปก็ไม่อาจสร้างความเย็นขึ้นมาได้

2. อะไหล่เครื่องปรับอากาศ : มอเตอร์คอยล์

อะไหล่เครื่องปรับอากาศอย่างมอเตอร์คอยล์นั้นมีทั้งแบบคอยล์ร้อนและคอยล์เย็น สำหรับคอยล์เย็นจะคอยดูดความร้อนเพื่อเปลี่ยนเป็นความเย็น ทำงานร่วมกับน้ำยาแอร์และระบบท่อลมหรือพัดลม แต่ในส่วนของคอยล์ร้อนนั้นจะเป็นอะไหล่ที่ช่วยระบายความร้อนที่เกิดขึ้นจากน้ำยาแอร์ แน่นอนว่าคอยล์ทั้งสองชนิดเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในเครื่องปรับอากาศเช่นกัน เรียกว่าเป็นส่วนสำคัญของระบบเครื่องปรับอากาศก็ว่าได้

3. อะไหล่เครื่องปรับอากาศ : แป๊บทองแดง

แป๊บทองแดงหรือท่อทองแดงเป็นอะไหล่ภายในเครื่องปรับอากาศที่จะทำหน้าที่คอยส่งน้ำยาแอร์ไปส่วนต่างๆ มีทั้งแบบเส้น แบบม้วน แบบข้อต่อรูปทรงต่างๆ เอาไว้เปลี่ยนอะไหล่ภายในเวลาเสียหาย เป็นอีกส่วนที่ต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับคุณภาพของทองแดงเนื่องจากถูกใช้งานหนักไม่แพ้กัน โดยแป๊บทองแดงสำหรับงานเครื่องปรับอากาศก็จะมีเกรดเป็นของตัวเอง

4. อะไหล่เครื่องปรับอากาศ : ฉนวนหุ้มท่อทองแดง

เพื่อความปลอดภัยตัวฉนวนหุ้มท่อทองแดงจึงเป็นอีกอะไหล่เครื่องปรับอากาศที่ขาดไม่ได้ เพราะเป็นตัวช่วยลดความร้อนของตัวท่อ ช่วยควบคุมอุณหภูมิได้เป็นอย่างดี ถือว่าเป็นอะไหล่ที่มาคู่กับระบบการทำความเย็นซึ่งเป็นระบบหลักของเครื่องปรับอากาศชนิดต่างๆ

5. อะไหล่เครื่องปรับอากาศ : รางครอบท่อ

หากตัวฉนวนและท่อทองแดงไม่มีอะไรห่อหุ้ม อายุการใช้งานก็จะต่ำลง เพราะฉะนั้นรางครอบท่อจึงเป็นอะไหล่เครื่องปรับอากาศอีกตัวที่ควรติดตั้งเอาไว้ ช่วยป้องกันและยืดอายุการใช้งานส่วนที่เรานำรางไปครอบ ห่างไกลจากการกัดแทะจากสัตว์ชนิดต่างๆ

6. อะไหล่เครื่องปรับอากาศ : น้ำยาแอร์

น้ำยาแอร์เป็นหนึ่งในอะไหล่เครื่องปรับอากาศที่สำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นสารที่ทำให้เกิดความเย็น เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับแอร์บ้านทั่วไป เป็นสารที่ไม่ให้อันตรายใดๆ ไม่มีกลิ่น มีจุดเดือดต่ำ ปลอดภัยเวลาใช้งาน เป็นตัวกลางในการดูดซับรับหน้าที่ประสานงานภายในเครื่องปรับอากาศ จำเป็นต้องให้ช่างแอร์มาเป็นผู้ดูแลการซ่อมแซมและเปลี่ยนถ่ายโดยเฉพาะ

เพราะฉะนั้นแล้วการทำความรู้จักกับอะไหล่แอร์บ้านเบื้องต้นเอาไว้ก็ไม่ใช่เรื่องที่เสียหาย เนื่องจากเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกชิ้นหนึ่งที่สำคัญและถูกใช้งานอย่างหนัก หากเกิดปัญหาและเรามีข้อมูลในส่วนนี้เอาไว้ ก็จะช่วยทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและรวดเร็วยิ่งขึ้น สำหรับใครที่กำลังหาอะไหล่เครื่องปรับอากาศชนิดต่างๆ รวมถึงบริการติดตั้งซ่อมแซมเครื่องปรับอากาศแล้วละก็ สามารถติดต่อบริษัท สยามแอร์ คอนดิชั่น จำกัดได้ที่ official line : @siam-air หรือเบอร์โทร 086-3446594 และ081-5440125

“ไดกิ้น” ยืนยันประสิทธิภาพเทคโนโลยี Streamer สามารถช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) และเชื้อไวรัสตับอักเสบจากหนู (MHV-A59) “ไดกิ้น”ยืนยันประสิทธิภาพเทคโนโลยี Streamer สามารถช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS—CoV2)และ เชื้อไว้รัสตับอักเสบจากหนู (MHV-A59)

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2563 บริษัท ไดกิ้น อินตดัสทรีส์ จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น) ได้ยืนยันว่าประสิทธิภาพเทคโนโลยี Streamer สามารถช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) และ เชื้อไวรัสตับอักเสบจากหนู (MHV—A59) โดยผลการทดสอบที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยโตเกียว (The University of Tokyo) และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์โอคายาม่า (Okayama University of Science) ประเทศญี่ปุ่น
ยืนยันผลการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ ของประสิทธิภาพเทคโนโลยี Streamer ด้วยการปล่อยประจุ Streamer เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ปรากฏว่าสามารถ ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)
และ เชื้อไวรัสตับอักเสบจากหนู (MHV-A59) ไม่ถึง99.9% และ ในเมื่อปล่อยประจุ Streamer 1ชั่วโมง สามารถช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS—CoV2) ได้ถึง 93.6% และ เชื้อไวรัสตับอักเสบจากหนู (MHV-A59) ได้ถึง 91.8%

daikin1

อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ดังกล่าวเป็นผลที่เกิดขึ้นภายในห้องทดลองที่ใช้เทคโนโลยี Streamer จึงไม่ได้ชี้บ่งว่าประสิทธิภาพของ Streamer นั้นจะมีผลต่อการใช้งานในผลิตภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยี Streamer เมื่อใช้งานภายใต้สภาพแวดล้อมจริง
การทดสอบประสิทธิภาพ Streamer ได้ทำการทดสอบในห้องทดลอง กับ เชื้อไวรัสตับอักเสบจากหนู (MHV-A59) และเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ภายในกล่องอะคริลิคขนาด31ลิตร2กล่อง โดยติดตั้งอุปกรณ์ Streamer ไว้ภายในกล่องอะคริลิค1กล่องและอีกล่องไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ Streamer ไวรัสที่ทำการทดสอบถูกบรรจุอยู่ในสารละลายไวรัส ซึ่งถูกนำมาใส่ในหลุ่มของจานทดลอง6หลุม (6-well plate) หลุมละ 0.5 มล. และวางบนเครื่องเขย่า ที่มีรอบเขย่า 12 ครั้ง/นาที ภายในกล่องอะคริลิค อุปกรณ์ Streamer ทำงานโดยการปล่อยพลาสม่าผ่านอากาศลงไปยังจานทดลอง 6 หลุมที่มีสารละลายไวรัสอยู่ซึ่งตั้งอยู่บนเครื่องเขย่าที่กำลังทำงาน จากนั้นทำการเก็บสารละลายไวรัสทุกๆ 1,2และ3ชั่วโมง จากจานทดลอง และนำไปนับจำนานไวรัสที่รอดชีวิตด้วยวิธีนับจำนวนพลัค (Plaque method) โดยใช่เซลล์ DBT สำหรับเชื้อไวรัสตับอักเสบจากหนู (MHV-A59) และวิธี TCID50 โดยใช้เซลล์ Vero E6 / TMPRSS2 สำหรับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV2)

บริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น) เปิดเผยว่า การทดสอบนี้เราได้ทำการทดสอบและค้นคว้าวิจัย ร่วมกับศาสตราจารย์ ชิเงรุ คิววะ บัณฑิตวิทยาลัย เกษตรกรรมและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ มหาวิยาลัยโตเกียว (Professor Shigeru Kyuwa,Graduate School of Agriculture and Life Sclence, The University of Tokyo ) และ ศาสตราจารย์ ชิเงรุ โมริกาวะ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาศาสตร์โอคายาม่า (Professor Sigeru Mprikawa, Faculty of Veterinary Medicine, Okayama University of Science)

เทคโนโลยี Streamer เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยบริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น) กระทั่งในปี 2564 เทคโนโลยี Streamer ได้ถูกนำมาใช้งานจริง โดยใช้หลักการทำงานในการปล่อยประจุไฟฟ้าพลาสม่า Streamer (Streamer discharge) ที่มีประสิทธิภาพในการสลายสสสารอันตราย

การปล่อยประจุ Streamer เป็นเทคโนโลยีฟอกอากาศที่สร้างอิเล็คตรอนความเร็วสูงอย่างมีเสถียร ซึ่งถึงถือว่าเป็นคุณสมบัติที่ทำได้ยากในเวลานั้นประสิทธิภาพในการสลายสสารด้วยวิธีออกซิเดชั่น (Oxidation) ของ Streamer นั้นมากกว่าการปลดปล่อยประจุพลาสม่าแบบทั่วไป (glow discharge) ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อผสานกับโมเลกุลของอากาศทำให้อิเล็กตรอนความเร็วสูงเหล่านี้ มีคุณสมบัติในการสลายสสารด้วยกระบวนการออกซิเดชั่นทำให้สตรีมเมอร์สามารถกำจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ แบคทีเรียและมลพิษทางอากาศภายในอาคาร เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ ได้อย่างต่อเนื่อง

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน “ไดกิ้น” ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของรัฐในการทดสอบ ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี Streamer นี้กับสสารอันตรายต่างๆ อย่างเช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ก่อโรคระบายรุนแรงอย่าง (H5N1) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ไม่รุนแรง (H1N1 Norovirus) จากหนู และสารพิษและแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษ

นอกเหนือจากเชื้อก่อโรคที่แสดงในตารางด้านล่างแล้ว ประสิทธิภาพของ Streamer ยังได้รับการทดสอบกับสสารอันตรายอีกกว่า 60 ชนิดโดยแบ่งเป็น เชื้อแบคทีรีย 7ชนิด สารก่อภูมิแพ้ 30ชนิด รวมไปถึงสารเคมีอันตรายอีกกว่า 19 ซึ่งผลการทดสอบเหล่านั้นได้รับการยืนยันผลจากสถาบันวิจัยของรัฐ

daikin2

 

 

04 0

 

เครื่องปรับอากาศทั่วไปมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

1. แบบติดผนัง เหมาะกับห้องที่มีพื้นที่น้อย เช่นห้องนอน ข้อดีคือมีเสียงเงียบ 

2. แบบตั้งหรือแขวน เหมาะกับห้องที่ต้องการประหยัดพื้นที่ หรือต้องการความเย็นที่สูงขึ้น เช่น ออฟฟิช มินิมาร์ท ห้องที่มีคนเข้าออกบ่อย ข้อดีคือ ทำความเย็นได้เร็ว เพราะส่งแรงลมได้แรงกว่าแบบผนัง

3. แบบตู้ตั้ง เหมาะกับพื้นที่ที่มีคนเข้าออกตลอดเวลา เช่นห้องประชุม หรือโถงขนาดใหญ่

4. แบบหน้าต่าง เป็นเครื่องปรับอากาศที่รวมคอนเดนซิ่ง ยูนิต และแฟนคอยล์อยู่ในเครื่องเดียว ซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่นิยม เพราะมีเสียงดัง

5. แบบฝังฝ้าเพดาน หรือแบบแอร์ สี่ทิศทาง หนึ่งทิศทาง ( Cassette type) เหมาะกับห้องที่ต้องการเน้นความสวยงาม โดยต้องการให้เห็นเครื่องปรับอากาศน้อย หรือเรียบไปก้บฝ้าเพดาน ข้อดีคือ สามารถกระจายลมได้รอบทิศทาง (สำหรับแอร์ 4 ทิศทาง) มีเสียงเงียบ เรียบไปกับฝ้าเพดาน มีปั้มน้ำสามารถดูดน้ำทิ้งได้ไม่ว่าอยู่ในสภาพห้องแบบไหน โดยจะซ่อนอยู่บนฝ้าเพดาน 

6. แบบเคลื่อนที่ เป็นเครื่องปรับอากาศที่ไม่ต้องทำการติดตั้งและสามารถใช้ได้ทุกที่ 

02

ทำตามนี้หายแน่นอนค่ะ

1. BTU ของแอร์ไม่เหมาะสมกับขนาดห้อง

2. ตั้งโหมดทำความเย็นผิด

3. จำนวนคนในห้องมากเกินไป

4. แอร์มีสิ่งสกปรกเยอะ

5. ไม่ทำความสะอาดตัวกรองฝุ่น

6. น้ำยาแอร์ขาดหรือรั่ว

7. คอมเพรสเซอร์ด้านอกไม่ทำงาน