พิมพ์ 

VRF-System

การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ VRF

ปัจจุบันเครื่องปรับอากาศถือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าจำเป็นต้องมีติดบ้านแบบทุกครัวเรือน รวมถึงภาคธุรกิจ ร้านค้าขนาดย่อม ขนาดใหญ่ หน่วยงานราชการ โรงงานอุตสาหกรรม และอื่นๆ เนื่องด้วยสภาพอากาศประเทศไทยที่ร้อนอบอ้าวขึ้นในทุกๆปี... การมองหาเครื่องปรับอากาศที่ใช้งานได้ดี ทนทาน คุ้มค่าในระยะยาวเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริโภคคาดหวังว่าจะได้รับเมื่อมีการซื้อเครื่องปรับอากาศไปใช้งานทั้งนี้เครื่องปรับอากาศจะใช้งานได้ดี ทนทาน และคุ้มค่าในระยะยาวหรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลัก คือ คุณภาพของสินค้าที่ดี และ ความรู้ความชำนาญการของช่างผู้ติดตั้ง

 

1.การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานสำคัญสำหรับการติดตั้ง

   1.1ท่อทองแดง (Copper Tube) ท่อทองแดงที่ใช้จะมี 2 แบบคือ แบบม้วน (Pancake Coil) และแบบเส้น (Hard Drawn Type) ต้องเลือกความหนาและขนาดท่อให้ตรงกับที่เจ้าของผลิตภัณฑ์กำหนด เพื่อให้สามารถทนแรงดันที่เกิดขึ้นตอนใช้งานได้ทั้งในสภาวะปกติและสภาวะที่ผิดปกติ... ในสภาวะปกติการทำงานของระบบ VRF จะมีแรงดันภายในท่อประมาณ 350-500 psi ขึ้นอยู่กับรอบการทำงานของคอมเพรสเซอร์ ส่วนสภาวะผิดปกติ จะเกิดจากสาเหตุระบบท่อน้ำอุดตัน หรือระบายความร้อนไม่ได้ จะทำให้แรงดันภายในท่อสูงขึ้นมากกว่า 500 psi (ระบบ VRF จะมีการตัดการทำงานถ้าแรงดันสูงถึง 580-600 psi)

   1.2ฉนวนหุ้มท่อ (Pipe Insulation) จะเป็นฉนวนแบบชนิดไม่ลามไฟ (Closed Call Elastomeric Thermal Insulation) ที่มีความหนาไม่น้อยกว่า ½ หรือตามที่เจ้าของผลิตภัณฑ์กำหนด เนื่องจากภายในท่อจะมีความเย็นส่งผ่านออกมาภายนอก ฉนวนหุ้มท่อที่ได้ตามาตรฐานที่กำหนดจะสามารถป้องกันการเกิดหยดน้ำเกาะที่ท่อได้

2.ขั้นตอนการติดตั้งโดยทั่วไป ขั้นตอนการติดตั้งแบบมาตรฐาน จะเป็นไปตามรูปด้านล่างนี้

 vrfChart

 

3.งานติดตั้งท่อน้ำยาระบบ VRF มี 3 สิ่งที่ต้องหใความสำคัญ

  3.1ความสะอาดของท่อน้ำยา ต้องรักษาความสะอาดของท่อน้ำยาไม่ให้สิ่งแปลกปลอมหรือสิ่งสกปรกหลงเหลืออยู่ภายในท่อน้ำยา หากมีสิ่งแปลกปลอมหรือสิ่งสกปรกหลงเหลือในท่อน้ำยา จะไปทำให้การทำงานของ EEV หรือ Electronic Expansion Valve (วาล์วควบคุมปริมาณสารทำความเย็นอัตโนมัติ) ทำงานผิดปกติได้

  3.2คาวมทนต่อแรงดันอากาศได้ตามค่ากำหนด เพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อเครื่องปรับอากาศได้เดินเครื่องแล้วจะไม่มีการรั่วไหลของน้ำยาออกนอกระบบ ฉะนั้นหลังการเชื่อมต่อท่อน้ำยาในสถานภาพต่างๆแล้ว จะต้องมีการทดสอบความดันของอากาศในระบบท่อน้ำยานี้ให้ทนความดันได้ตามข้อกำหนดของบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์

  3.3ความแห้ง (ปราศจากความชื้น) ถ้ามีความชื้นอยู่ในระบบจะทำให้ EEV เกิดการเป็นน้ำแข็ง จำเป็นต้องทำให้มั่นใจว่าในระบบท่อน้ำยาไม่มีอากาศหลงเหลืออยู่ โดยดูดอากาศออกจากระบบด้วยเครื่องมือดูดสูญญากาศ (Vacuum Pump) ตามข้อกำหนด
หมายเหตุ : การใช้เวลาดูดไม่เพียงพออาจจะทำให้เกิดการอุดตันของฟิลเตอร์ และสร้างความเสียหายให้กับคอมเพรสเซอร์ได้

เครดิต บริษัท เซ็นทรัลแอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (บทความจาก วารสารสมาคม ผู้ค้าเครื่องปรับอากาศไทย Thai Air Conditioning Traders Association (T.A.T.A)