ความรู้เรื่องแอร์

“ไดกิ้น” ยืนยันประสิทธิภาพเทคโนโลยี Streamer สามารถช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) และเชื้อไวรัสตับอักเสบจากหนู (MHV-A59) “ไดกิ้น”ยืนยันประสิทธิภาพเทคโนโลยี Streamer สามารถช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS—CoV2)และ เชื้อไว้รัสตับอักเสบจากหนู (MHV-A59)

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2563 บริษัท ไดกิ้น อินตดัสทรีส์ จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น) ได้ยืนยันว่าประสิทธิภาพเทคโนโลยี Streamer สามารถช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) และ เชื้อไวรัสตับอักเสบจากหนู (MHV—A59) โดยผลการทดสอบที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยโตเกียว (The University of Tokyo) และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์โอคายาม่า (Okayama University of Science) ประเทศญี่ปุ่น
ยืนยันผลการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ ของประสิทธิภาพเทคโนโลยี Streamer ด้วยการปล่อยประจุ Streamer เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ปรากฏว่าสามารถ ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)
และ เชื้อไวรัสตับอักเสบจากหนู (MHV-A59) ไม่ถึง99.9% และ ในเมื่อปล่อยประจุ Streamer 1ชั่วโมง สามารถช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS—CoV2) ได้ถึง 93.6% และ เชื้อไวรัสตับอักเสบจากหนู (MHV-A59) ได้ถึง 91.8%

daikin1

อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ดังกล่าวเป็นผลที่เกิดขึ้นภายในห้องทดลองที่ใช้เทคโนโลยี Streamer จึงไม่ได้ชี้บ่งว่าประสิทธิภาพของ Streamer นั้นจะมีผลต่อการใช้งานในผลิตภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยี Streamer เมื่อใช้งานภายใต้สภาพแวดล้อมจริง
การทดสอบประสิทธิภาพ Streamer ได้ทำการทดสอบในห้องทดลอง กับ เชื้อไวรัสตับอักเสบจากหนู (MHV-A59) และเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ภายในกล่องอะคริลิคขนาด31ลิตร2กล่อง โดยติดตั้งอุปกรณ์ Streamer ไว้ภายในกล่องอะคริลิค1กล่องและอีกล่องไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์ Streamer ไวรัสที่ทำการทดสอบถูกบรรจุอยู่ในสารละลายไวรัส ซึ่งถูกนำมาใส่ในหลุ่มของจานทดลอง6หลุม (6-well plate) หลุมละ 0.5 มล. และวางบนเครื่องเขย่า ที่มีรอบเขย่า 12 ครั้ง/นาที ภายในกล่องอะคริลิค อุปกรณ์ Streamer ทำงานโดยการปล่อยพลาสม่าผ่านอากาศลงไปยังจานทดลอง 6 หลุมที่มีสารละลายไวรัสอยู่ซึ่งตั้งอยู่บนเครื่องเขย่าที่กำลังทำงาน จากนั้นทำการเก็บสารละลายไวรัสทุกๆ 1,2และ3ชั่วโมง จากจานทดลอง และนำไปนับจำนานไวรัสที่รอดชีวิตด้วยวิธีนับจำนวนพลัค (Plaque method) โดยใช่เซลล์ DBT สำหรับเชื้อไวรัสตับอักเสบจากหนู (MHV-A59) และวิธี TCID50 โดยใช้เซลล์ Vero E6 / TMPRSS2 สำหรับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV2)

บริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น) เปิดเผยว่า การทดสอบนี้เราได้ทำการทดสอบและค้นคว้าวิจัย ร่วมกับศาสตราจารย์ ชิเงรุ คิววะ บัณฑิตวิทยาลัย เกษตรกรรมและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ มหาวิยาลัยโตเกียว (Professor Shigeru Kyuwa,Graduate School of Agriculture and Life Sclence, The University of Tokyo ) และ ศาสตราจารย์ ชิเงรุ โมริกาวะ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาศาสตร์โอคายาม่า (Professor Sigeru Mprikawa, Faculty of Veterinary Medicine, Okayama University of Science)

เทคโนโลยี Streamer เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยบริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น) กระทั่งในปี 2564 เทคโนโลยี Streamer ได้ถูกนำมาใช้งานจริง โดยใช้หลักการทำงานในการปล่อยประจุไฟฟ้าพลาสม่า Streamer (Streamer discharge) ที่มีประสิทธิภาพในการสลายสสสารอันตราย

การปล่อยประจุ Streamer เป็นเทคโนโลยีฟอกอากาศที่สร้างอิเล็คตรอนความเร็วสูงอย่างมีเสถียร ซึ่งถึงถือว่าเป็นคุณสมบัติที่ทำได้ยากในเวลานั้นประสิทธิภาพในการสลายสสารด้วยวิธีออกซิเดชั่น (Oxidation) ของ Streamer นั้นมากกว่าการปลดปล่อยประจุพลาสม่าแบบทั่วไป (glow discharge) ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อผสานกับโมเลกุลของอากาศทำให้อิเล็กตรอนความเร็วสูงเหล่านี้ มีคุณสมบัติในการสลายสสารด้วยกระบวนการออกซิเดชั่นทำให้สตรีมเมอร์สามารถกำจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ แบคทีเรียและมลพิษทางอากาศภายในอาคาร เช่น ฟอร์มาลดีไฮด์ ได้อย่างต่อเนื่อง

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน “ไดกิ้น” ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของรัฐในการทดสอบ ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี Streamer นี้กับสสารอันตรายต่างๆ อย่างเช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ก่อโรคระบายรุนแรงอย่าง (H5N1) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ไม่รุนแรง (H1N1 Norovirus) จากหนู และสารพิษและแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษ

นอกเหนือจากเชื้อก่อโรคที่แสดงในตารางด้านล่างแล้ว ประสิทธิภาพของ Streamer ยังได้รับการทดสอบกับสสารอันตรายอีกกว่า 60 ชนิดโดยแบ่งเป็น เชื้อแบคทีรีย 7ชนิด สารก่อภูมิแพ้ 30ชนิด รวมไปถึงสารเคมีอันตรายอีกกว่า 19 ซึ่งผลการทดสอบเหล่านั้นได้รับการยืนยันผลจากสถาบันวิจัยของรัฐ

daikin2